ความหมายของสารละลายบัฟเฟอร์
บัฟเฟอร์ คือ สารที่สามารถควบคุม pH ได้ เเม้ว่าเติมกรดเเก่หรือเบสเเก่ลงไปเล็กน้อย
ชนิดของบัฟเฟอร์
เเบ่งออกเป็น 2 ชนิด
บัฟเฟอร์กรด คือ บัฟเฟอร์ที่เป็นคู่กรด คู่เบส ของกรดอ่อน หรือบัฟเฟอร์ที่เกิดจากกรดอ่อนกับเกลือของกรดอ่อน เช่น CH3COOH กับ CH3COONa
HCN กับ NaCN
บัฟเฟอร์เบส คือ บัฟเฟอร์ที่เป็นคู่กรด คู่เบส ของเบสอ่อน หรือบัฟเฟอร์ที่เกิดจากเบสอ่อนคู่กับเกลือของเบสอ่อน เช่น NH3 (NH4OH) กับ NH4Cl
CH3NH2 กับ CH3NH3Cl
การควบคุมค่า pH ของสารละลายบัฟเฟอร์
ถ้าเติมกรดลงไป H+ ลงไปในกรด จะถูกสะเทินด้วยคู่เบส
ถ้าเติมเบสลงไป OH- ลงไปในเบส จะถูกสะเทินด้วยคู่กรด
หมายเหตุ กรดเเก่ เบสเเก่ เป็นบัฟเฟอร์ไม่ได้ เพราะสารพวกนี้เเตกตัว 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีโอกาสเกิดคู่กรดคู่เบส
การพิจารณาสารที่เป็นบัฟเฟอร์
1.สารที่ทำปฏิกิริยากับกรดเเก่ เเละเบสเเก่ เเล้วมี อ่อนเหลืออยู่ ( อ่อนในที่นี้หมายถึง กรดอ่อน เบสอ่อน เกลือของกรดอ่อน เกลือของเบสอ่อน ก็ได้)
2.สารที่ไม่ทำปฏิกิริยากัน เเละเป็นสารคู่กรด-คู่เบสกัน
ค่า pH ของสารละลายบัฟเฟอร์
บัฟเฟอร์ที่เกิดจากกรดอ่อนคู่กับเกลือของกรดอ่อน มีค่า pH น้อยกว่า 7
บัฟเฟอร์ที่เกิดจากเบสอ่อนคู่กับเกลือของเบสอ่อน มีค่า pH มากก่วา 7
สูตรการคำนวณค่า pH ของบัฟเฟอร์
บัฟเฟอร์กรด [H+] = Ka[กรด]/[เกลือ]
pH = -logKa + log[เกลือ]/[กรด]
บัฟเฟอร์เบส [OH-] = Kb[เบส]/[เกลือ]
pOH = -logKb + log[เกลือ]/[เบส]
-ผู้จัดทำกระทู้ นางสาวกนกวรรณ ทิวบุนนาค รหัสนักศึกษา 52050834 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาทรัพยากรเเละสิ่งเเวดล้อม-
เมย์รีบป่ะเนี่ย ทำเร็วจังไม่รอกันบ้างเลยนะ ทำสีสันสดใสมาก
ตอบลบthank คับ อ่านแล้วเข้าใจทันทีเลย ดูจากหนังสือ แล้วมันงงๆ อันนี้ง่ายกว่าจมเลย
ตอบลบ