ทฤษฎีกรด - เบส
ในการที่จะให้นิยามของกรด- เบส และในการจำแนกสารต่างๆ ว่าเป็นกรดหรือเบสนั้นได้มีนักวิทยาศาสตร์ ได้ศึกษาและตั้งทฤษฎีกรด- เบส ขึ้นหลายทฤษฎีด้วยกัน ทฤษฎีกรด- เบสที่สำคัญมีดังนี้
ทฤษฎีของอาร์เรเนียส
อาร์เรเนียส เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน ได้ตั้งทฤษฎีกรด- เบส ในปี ค. ศ. 1887 ( พ. ศ. 2430) อาร์เรเนียสศึกษาสารที่ละลายน้ำ (Aqueous solution) และการนำไฟฟ้าของสารละลายนั้น เขาพบว่าสารอิเล็กโทรไลต์จะแตกตัวเป็นไอออน ได้เสนอทฤษฎีของกรดและเบสว่า
กรด คือ สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน
เบส คือ สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ไฮดรอกไซด์ไอออน
ข้อจำกัดของทฤษฎีกรด - เบส อาร์เรเนียส
ทฤษฎีกรด- เบส อาร์เรเนียส จะเน้นเฉพาะการแตกตัวในน้ำ ให้เป็น H+ และ OH- ไม่รวมถึงตัวทำละลายอื่นๆ ทำให้อธิบายความเป็นกรด- เบสได้จำกัด สารที่จะเป็นกรดได้ต้องมี H+ อยู่ในโมเลกุล และสารที่จะเป็นเบสได้ก็ต้องมี OH- อยู่ในโมเลกุล
ทฤษฎีของเบรินสเตด-เลารี
ในปี ค.ศ.1923 นักเคมีชาวเดนมาร์ค : Johannes Bronsted และ นักเคมีชาวอังกฤษ : Thomas M. Lowry ได้เสนอทฤษฎีของกรดและเบสว่า
กรด คือ สารที่ให้โปรตอน
เบส คือ สารที่รับโปรตอน
ข้อจำกัดของทฤษฎีกรด - เบสของเบรินสเตต- ลาวรี
ทฤษฎีกรด- เบสของเบรินสเตต- ลาวรี ใช้อธิบายสมบัติของกรด- เบส ได้กว้างกว่าทฤษฎีของ อาร์เรเนียส แต่ยังมีข้อจำกัดคือ สารที่จะทำหน้าที่เป็นกรดจะต้องมีโปรตอนอยู่ในสารนั้น
ทฤษฎีกรด- เบสของลิวอีส
ในปี ค.ศ.1923 Gilert N. Lewis ได้เสนอทฤษฎึของกรดและเบสว่า
กรด คือ สารที่รับคู่อิเล็กตรอน (electron-pair acceptor)
เบส คือ สารที่ให้คู่อิเล็กตรอน (electron-pair doner)
ทฤษฎีกรดและเบสของลิวอิส ใช่ได้กว้างขวางกว่าทฤษฎีของบรอนสเตด-เลารี และทฤษฎีของ อาร์เรเนียส โดยครอบคลุมกรดทุกตัวและเบสทุกตัวของนิยามทั้งสอง และยังครอบคลุมไปถึงสารใดก็ได้ไม่ว่าจะเป็นโมเลกุลหรือไอออนที่ขาดอิเล็กตรอนจัดเป็นกรดอีกด้วย เช่น สารประกอบเชิงซ้อน
น.ส.อธิษฐาน์ เพ็ญกุล
รหัส 52050928
คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมีทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น