วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552
2.ชนิดของกรดและเบส
ชนิดของกรดและเบส
ชนิดของกรด
1.กรด Monoprotic แตกตัว 1 ได้แก่ HNO3 , HClO3 , HClO4 , HCN
2.กรด Diprotic แตกตัว 2 ได้แก่ H2SO4 , H2CO3
3.กรด Polyprotic แตกตัว 3 ได้แก่ H3PO4
การแตกตัวของกรด Polyprotic แต่ละครั้งจะให้ H+ ไม่เท่ากัน แตกครั้งแรกจะแตกได้ดีมาก ค่า Ka สูงมากแต่แตกครั้งต่อ ๆ ไปจะมีค่า Ka ต่ำมาก เพราะประจุลบในไอออนดึงดูด H+ ไว้ดังสมการ
H2SO4 H+ + HSO4- Ka1 = 1011
HSO4- H+ + SO42- Ka2 = 1.2 x 10-2
เนื่องมาจากกรด Polyprotic มักมีค่า K1>>K2>>K3 H+ ในสารละลายส่วนใหญ่จะได้มาจากการแตกตัวครั้งแรก
ถ้าค่า K1 มากกว่า K2 =103 เท่าขึ้นไปจะพิจารณาค่า pH ของสารละลายกรด Polyprotic ได้จากค่า K1 เท่านั้น แต่ถ้าค่า K2 มีค่าไม่ต่ำมาก จะต้องนำค่า K2 มาพิจารณาด้วย
ชนิดของเบส
เบส แบ่งตาม จำนวน OH- ในเบส แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
1.เบสที่มี OH- ตัวเดียว เช่น LiOH NaOH KOH RbOH CsOH
2.เบสที่มี OH- 2 ตัว เช่น Ca(OH)2 Sr(OH)2 Ba(OH)2
3.เบสที่มี OH- 3 ตัว เช่น Al(OH)3 Fe(OH)3
น.ส.กนกรัชต์ พัวเจริญ รหัส 52050833
สาขา เคมีทรัพยากรธรรมชาติ
5.pH ของสารละลาย
pH ของสารละลาย
pH ของสารละลาย คือค่าที่แสดงถึงความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออน หรือไฮโดรเนียมไอออน ใช้บอกความเป้นกรดหรือเบสของสารละลาย โดย pH ของสารละลาบเป็นค่า log ของไฮโดรเจนไอออนที่เป็นค่าลบ
pH ของสารละลาย คือค่าที่แสดงถึงความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออน หรือไฮโดรเนียมไอออน ใช้บอกความเป้นกรดหรือเบสของสารละลาย โดย pH ของสารละลาบเป็นค่า log ของไฮโดรเจนไอออนที่เป็นค่าลบ
pH = -log [H+]
โดยที่[H+]คือความเข้มข้นของ H+ มีหน่วยเป็นโมล/ลิตร
น้ำบริสุทธิที่อุณหภูมิ 25 องศา จะมี[H+] = 1x10-7 โมล/ลิตร
ดังนั้น pH = 7 ซึ่งถือว่ามีสภาพเป็นกลางไม่มีความเป็นกรดหรือเบส
ดังนั้นสรุปได้ว่า
pH มากกว่า 7 สารละลายเป็นเบส
pH เท่ากับ 7 สารละลายเป็นกลาง
pH น้อยกว่า 7 สารละลายเป็นกรด
หรืออาจจะเขียนสเกลได้ดังนี้นอกจากจะบอกความเป้นกรดเบสของสารละลายด้วยค่า pH แล้วยังสามารถบอกได้ด้วยค่า pOH
ตารางแสดงสเกล pH ของสารละลายที่มีคว่มเข้มข้นต่างๆกัน
วิธีวัด pH ของสารละลาย
1. วิธีเปรีบยเทียบสี วิ๊มี้เป็นการวัดค่า pH โดยประมาณซึ่งทำได้โดยการเติมอินดิเคเตอร์ที่เหมาะสมลงไปในสารละลายที่ต้องการวัด แล้วจึงเปรียบเทียบสีกับสารละลายบัฟเฟอร์ที่ทราบค่า pH ที่แน่นอน ซึ่งได้เติมอินดิเคเตอร์ชนิเดียวกันไปแล้วหรือใช้กระดาษชุบอินดิเคเตอร์จุ่มลงไปแล้วเปรียบเทียบกับสีมาตรฐาน
2.วิธีวัดความต่างศักย์ ยวิธีนี้วัด pH ได้อย่างละเอียด โดยการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า พีเอสมิเตอร์ ซึ่งสามารถวัด pH ของสารละลายได้
นางสาวอริศรา ปัญญายุทธศักดิ์ รหัส 52050931
สาขาเคมีทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
6.อินดิเคเตอร์
อินดิเคเตอร์ คือ สารที่ใช้บอกความเป็นกรด-เบส ของสารละลายได้อย่างหนึ่ง สารประกอบที่เปลี่ยนสีได้ที่pH เฉพาะตัว จะนำมาใช้เป็นอินเคเตอร์ได้ เช่น ฟีนอล์ฟทาลีน
HIn เป็นสัญลักษณ์ของอินดิเคเตอร์ในรูปกรด
In เป็นสัญลักษณ์ของอินดิเคเตอร์ในรูปเบส
HIn และ In มีสีต่างกันและปริมาณต่างกัน จึงทำสีของสารละลายเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าปริมาณ HIn มากก็จะมีสีอยู่ในรูปกรด ถ้ามีปริมาณ In มากก็จะมีสีอยู่ในรูปเบส การที่มีปริมาณ HIn หรือ In มากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณไฮโดรเนียมในสารละลาย ถ้ามีไฮโดรเนียมมากก็จะรวมกับ In ได้ HIn มากจะเห็นสารละลายใสไม่มีสีของ HIn แต่ถ้าอยู่ในสารละลายที่มีไฮดรอกไซด์มาก ไฮดรอกไซด์จะทำปฏิกิริยากับไฮโดรเนียม ทำให้ไฮโดเนียมลดลง ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าได้ In มากขึ้น จะเห็นสารละลายในรูปของ In คือเห็นเป็นสีชมพู
น.ส. ศิวิมล เชียร์ประเสริฐ เคมีทรัพยากรสิ่งแวดล้อม รหัส 52050913
HIn เป็นสัญลักษณ์ของอินดิเคเตอร์ในรูปกรด
In เป็นสัญลักษณ์ของอินดิเคเตอร์ในรูปเบส
HIn และ In มีสีต่างกันและปริมาณต่างกัน จึงทำสีของสารละลายเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าปริมาณ HIn มากก็จะมีสีอยู่ในรูปกรด ถ้ามีปริมาณ In มากก็จะมีสีอยู่ในรูปเบส การที่มีปริมาณ HIn หรือ In มากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณไฮโดรเนียมในสารละลาย ถ้ามีไฮโดรเนียมมากก็จะรวมกับ In ได้ HIn มากจะเห็นสารละลายใสไม่มีสีของ HIn แต่ถ้าอยู่ในสารละลายที่มีไฮดรอกไซด์มาก ไฮดรอกไซด์จะทำปฏิกิริยากับไฮโดรเนียม ทำให้ไฮโดเนียมลดลง ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าได้ In มากขึ้น จะเห็นสารละลายในรูปของ In คือเห็นเป็นสีชมพู
น.ส. ศิวิมล เชียร์ประเสริฐ เคมีทรัพยากรสิ่งแวดล้อม รหัส 52050913
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)